วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

กุ้งก้ามแดง

กุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครฟิช มีถิ่นกำเนิดที่ ออสเตรเลีย ขนาดโตเต็มที่ 12 นิ้วอายุเฉลี่ย 4ปี ในธรรมชาติ ถ้าเลี้ยงใส่ตู้กระจก อยู่ได้ 2-3 ปี อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยง 25-28 องศา ถือว่า อากาศและอุณหูภูมิในบ้านเรา กำลังดี
กุ้งก้ามแดงเป็นกุ้งชนิดแรกที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงทดลองเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร เพราะเป้นกุ้งที่มีการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็วและมีขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นคือ มีขนาดใหญ่และสีของกุ้งมีการเปลี่ยนแปลงตลอด แต่สีที่พบมากที่สุดคือ สีเขียว สีน้ำตาล และสีน้ำเงิน ซึ่งคนไทยจะเรียกว่า บลู ล็อปเตอร์ บางที่ก็เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามแล้วนำจำหน่ายได้ในราคาสูง
กุ้งชนิดนี้มีจุดเด่นอีกอย่างคือ แถบข้างของก้ามจะมีสีแดง และ สีส้ม เป็น เอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแถบสีเหล่านี้ จะพบกับกุ้งเพศผู้เท่านั้น ส่วนเพศเมียจะไม่มีแถบสี กุ้งชนิดนี้เลี้ยงง่าย ปรับตัวได้ไวและภูมต้านทานโรคสูง ปัจจุบันเกษตรนำมาเลี้ยงเป็นกุ้งเนื้อ และเป็นที่ต้องการของตลาด
การเริ่มต้นการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง แบบเลี้ยงเพื่อเศรษฐกิจ จะต้องทำอย่างไรบ้าง
1. การเตรียมน้ำ ต้องเตรียมน้ำ ยกตัวอย่างเลี้ยงในตู้ 24 นิ้ว ใส่น้ำประมาณ 50 ลิตร เติมเกลือแกงไปประมาณ 2-4 ช้อนโต๊ะ เปิด ออกซเจนทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง ไม่ต้องใส่น้ำยาลดคลอรีน ก่อนนำกุ้งลงตู้ให้เอาถุงใส่กุ้งลอยน้ำทิ้งไว้ 15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิให้กับกุ้ง
** กรณีเลี้ยงบ่อดิน บ่อผ้าใบพลาสติก ใส่น้ำความสูง 30-40 เซนติเมตร เติมเกลือ อัตราน้ำ 1000 ลิตร ต่อ 1 กิโลกรัม ปั๊มออกซิเจน หรือใบพัดปั่นน้ำ ในบ่อทิ้งไว้ 5-6 ชั่วโมง ค่อยนำกุ้งลง แล้วแต่ ขนาดของบ่อ **
666
2.ปรับอุณหภูมิการเลี้ยงไว้ที่ 20-30 องศาเซลเซียส
3.สังเกตการลอกราบของกุ้ง ซึ่งช่วงเวลานี้กุ้งจะบอบบางและอ่อนแอมาก จะสังเกตอย่างไร แบ่งออกเป็นข้อๆได้ตามนี้ครับ
- ปริมาณการกินอาหารน้อยลง
- รอยต่อของลำตัวจะเปิด
- จับดูที่เปลือกหัวจะนุ่มนิ่มแสดงว่าใกล้ลอกคราบ
- แต่ถ้าห้วเปิดแล้วตัวยังแข็งอยู่แสดงว่ายังไม่ลอกคราบ อาจจะเกิดจากการที่กุ้งกินอาหารมากเกินไป ทำให้เปลือกบริเวฯรอยต่อยกขึ้นเหมือนลอกคราบ
4. การถ่ายน้ำในกรณีเลี้ยงตู้ควรถ่ายทุกๆ 7-10 วัน ** ส่วนบ่อดิน บ่อผ้าใบพลาสติก สูบน้ำเก่าออกเติมน้ำใหม่เข้า ทุก 2 สัปดาห์ ** ไม่ควรเปลี่ยนน้ำทิ้งทั้งหมด จะทำให้กุ้ง น็อคน้ำได้
5.อาหาร สำหรับกุ้งชนิดนี้กินได้ทั้งพืชและสัตว์และอาหารเม็ด ยกตัวอย่างอาหารของกุ้งก้ามใหญ่ เช่น สาหร่ายหางกระรอก แครอท และพืชน้ำอื่นๆ ประเภทเนื้อสัตว์จะเป็นพวก กุ้งฝอยต้ม เนื้อปลาตัวเล็กๆ *หนอนแดง กรณีเลี้ยงในตู้หรือ บ่อพลาสติก*
6.การเพาะพันธุ์ กุ้งก้ามใหญ่ จะเริ่มผสมพันธุ์ที่ขนาดประมาณ 3 นิ้วขึ้นไป ( ขึ้นอยู่กับความสมบูรณื และสายพันธุ์ ) หลังจากผสมแล้ว ตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาใต้หาง และใช้เวลา 30 วันลูกจะเป็นตัวแล้วจะลงดิน อัตตราการผสม ตัวผู้ 1 ตัว ต่อ ตัว เมีย 3 ตัว
888
แนวทางการเลี้ยงแบบสวยงาม
กุ้งเครย์ฟิช สามารถนำมาเลี้ยงในตู้ปลาได้ แต่หากเลี้ยงรวมกันหลายตัว ควรจะเลี้ยงในตู้ปลาขนาดใหญ่ ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว เพราะกุ้งเครย์ฟิช มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว และหวงถิ่นที่อยู่ เมื่อมีเนื้อที่กว้างจะทำให้กุ้งแต่ละตัวสามารถสร้างอาณาเขตของตนเองได้ หากนำมาเลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่นจะพบว่า กุ้งเครย์ฟิช ขนาดเล็กมักถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกกุ้งเครย์ฟิชที่มีขนาดใหญ่กว่ากิน เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ ควรใส่ขอนไม้ กระถางต้นไม้แตกๆ หรือท่อ พีวีซี ตัดเป็นท่อนๆ เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชได้หลบอาศัยในเวลากลางวัน เพราะปกติช่วงกลางวันเป็นเวลาที่มันจะอยู่เงียบๆ แต่จะออกมาหาอาหารในเวลากลางคืนมากกว่า
1010
สำหรับการตกแต่งตู้เลี้ยง กุ้งเครย์ฟิชนั้น หากชอบให้ตู้โล่งก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่ควรใส่ท่อพีวีซีลงไปด้วย เพื่อให้กุ้งได้ใช้ในการหลบซ่อนตัว แต่หากต้องการให้ตู้เลี้ยงมีความสวยงามก็สามารถใช้กรวดปูพื้นตู้ได้ แต่มักพบว่า กุ้งเครย์ฟิชมีนิสัยชอบขุดคุ้ยกรวดเพื่อสร้างเป็นที่กำบังในเวลากลางวัน จึงทำให้ไม่เป็นเหมือนครั้งแรกที่แต่งไว้ ทั้งนี้ จึงควรจะปูกรวดให้หนา ไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชขุดกลบลำตัวได้ แต่ไม่ควรปูพื้นตู้ด้วยทราย เพราะมีความหนาแน่นสูง หากกุ้งเครย์ฟิชมุดลงไปแล้วอาจทำให้ขาดอากาศหายใจได้
ผู้เลี้ยงไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งปั๊มออกซิเจนในตู้เลี้ยงก็สามารถทำได้หากเลี้ยงจำนวนน้อย แต่หากต้องการจะติดตั้งเครื่องปั๊มออกซิเจนก็ปล่อยอากาศให้น้ำกระเพื่อมเบาๆ ก็พอ ส่วนระบบกรองน้ำ ควรใช้ชนิดกรองบน กรองแขวน หรืออาจจะใช้กรองฟองน้ำที่เป็นตุ้มก็เพียงพอ แต่ไม่ควรใช้ชนิดกรองใต้ตู้ เพราะกุ้งเครย์ฟิชมักจะขุดกรวดขึ้นมา
อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการ เลี้ยงกุ้งเครย์ฟิช คือ ประมาณ 23-28 องศาเซลเซียส ค่าพีเอช ที่เหมาะสมคือ ประมาณ 7.5-10.5 แต่หากน้ำมีความกระด้างสูง ก็สามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้ เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำ นอกจากนี้ เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้างเปลือกใหม่ ด้วย สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ แต่ทีละน้อย เพื่อป้องกันอุณหภูมิเปลี่ยนฉับพลัน และน้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด
กุ้งเครย์ฟิช สามารถกินอาหารได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก เศษเนื้อสัตว์ หรือให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมก็ได้ เพื่อความสะดวก แต่ไม่ควรให้อาหารบ่อย 2-3 วัน ให้ครั้งหนึ่งก็พอ และควรให้น้อยๆ แต่พอดี เพื่อป้องกันการตกค้างของอาหาร ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลต่อการเกิดโรคได้ และควรให้อาหารในเวลากลางคืน เพราะตามธรรมชาติ กุ้งเครย์ฟิชเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินในเวลากลางคืน
สำหรับการเพาะพันธุ์กุ้งเครย์ฟิชนั้นไม่ยาก เพราะสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี และสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย เพียงนำกุ้งเครย์ฟิชตัวผู้กับตัวเมียมาปล่อยรวมกัน แต่ต้องมั่นใจว่าเป็นตัวผู้กับตัวเมีย โดยสังเกตที่อวัยวะสืบพันธุ์ตรงช่วงขาเดิน กุ้งตัวผู้มีอวัยวะคล้ายตะขอบริเวณขาเดินคู่ที่สองและสาม ซึ่งตะขอนี้เอาไว้เกาะตัวเมียตอนผสมพันธุ์ ส่วนตัวเมียจะมีอวัยวะสืบพันธุ์เป็นแผ่นทรงวงรีบริเวณขาเดินคู่ที่ 3
222888
กุ้งเครย์ฟิช ใช้เวลาผสมพันธุ์นานกว่า 10 นาที หลังจากนั้นสามารถย้ายกุ้งตัวเมียไปยังตู้อนุบาลได้ เพื่อเป็นการเตรียมที่อยู่สำหรับลูกกุ้ง หลังจากนั้น ตัวเมียจะทยอยผลิตไข่ขึ้นมาไว้บริเวณขาว่ายน้ำเป็นกระจุก มองคล้ายพวงองุ่น หลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้วตัวเมียจะหาที่หลบซ่อนนอนนิ่งไม่ยอมกิน อะไร ระยะเวลาที่ตัวอ่อนใช้ในการพัฒนารูปร่างนั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ปริมาณอาหาร และคุณภาพน้ำด้วย โดยเฉลี่ยไข่จะพัฒนาจนเป็นตัวอ่อนเหมือนโตเต็มวัยภายใน 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้น ลูกกุ้งจะถูกปล่อยให้ว่ายน้ำเป็นอิสระ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งแม่กุ้งสามารถให้กุ้งได้มากถึง 300 ตัว ซึ่งพ่อแม่กุ้งไม่มีพฤติกรรมกินลูกกุ้งเป็นอาหาร และลูกกุ้งก็จะอยู่ไม่ห่างพ่อแม่นัก เพื่อคอยเก็บเศษอาหารที่เหลือจากพ่อแม่กินเป็นอาหารนั่นเอง
111
ตัวอ่อนของกุ้งเครย์ฟิช มีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โดยจะกินเศษอาหารก้นตู้เป็นหลัก สามารถให้ไส้เดือนฝอย ไรทะเล เป็นอาหารเสริมได้ แต่ควรระวังเรื่องคุณภาพน้ำด้วย อย่าปล่อยเศษอาหารเหลือทิ้งจนเน่าเสีย ซึ่งควรให้อาหารให้เพียงพอ เพราะตัวอ่อนจะมีพฤติกรรมกินกันเอง
ตู้อนุบาลตัวอ่อนควรมีพื้นที่ และวัสดุหลบซ่อน โดยเฉพาะกระถางต้นไม้ เพราะในช่วงเดือนแรก ลูกกุ้งจะลอกคราบบ่อย ทำให้ลำตัวอ่อนนิ่ม และมีเปอร์เซ็นต์ถูกกินเป็นอาหารมากขึ้น เมื่อลูกกุ้งมีอายุประมาณ 1 เดือน จะเริ่มมีสีสันเหมือนตัวโตเต็มวัย
การลอกคราบเป็นขั้นตอนที่สำคัญใน การเจริญเติบโตของกุ้งเครย์ฟิช เพราะแสดงถึงขนาดลำตัวที่โตมากขึ้น ซึ่งลูกกุ้งจะลอกคราบเดือนละครั้ง โดยมีระยะห่างในการลอกคราบแต่ละครั้งจะยาวนานขึ้นเมื่อกุ้งเจริญเติบโตขึ้น และเมื่อกุ้งเครย์ฟิชโตเต็มที่จะลอกคราบเพียงปีละครั้งเท่านั้น ในการลอกคราบแต่ละครั้ง กุ้งเครย์ฟิชจะมีลำตัวนิ่มและอ่อนแอมาก จึงต้องหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบซ่อนและค่อนข้างอยู่นิ่งๆ ประมาณ 2-3 วัน จนกว่าเปลือกจะแข็งเป็นปกติ
SONY DSC
อย่างไรก็ตาม หากเห็นว่ากุ้งเครย์ฟิชกำลังลอกคราบ ไม่ควรรบกวน เพราะอาจทำลายความต่อเนื่องของกระบวนการลอกคราบได้ หากกุ้งเครย์ฟิชตกใจอาจทำให้การลอกคราบไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยชิ้นส่วนของเปลือกชุดเก่ายังติดอยู่บริเวณก้าม ในขณะที่เปลือกชุดใหม่เริ่มแข็งตัว อาจทำให้เกิดความผิดปกติได้ อาทิ มีเปลือกสองชั้นทับกัน หรือก้ามบิดเบี้ยวผิดรูปได้

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บทความพิเศษ
การดูแลแม่กุ้งไข่
 


1. สิ่งที่ควรเตรียมคือ ตู้อนุบาลลูกกุ้ง ที่ผมใช้คือ ตู้ 18-20นิ้วครับ
กำลังดี
 เริ่มตั้งแต่เรารู้ว่าตัวคุณแม่ของเด็กๆจะไข่ ผมจะเตรียมตู้รันน้ำ และระบบกรองเอาไว้ก่อนล่วงหน้าเพื่อปรับอุณหภูมิน้ำให้เท่ากับตู้ที่แม่กุ้งอยู่  ควรวางตู้ในตำแหน่งที่คนเดินไม่พุกพล่านนะครับ จะได้ไม่ไปรบกวนแม่กุ้ง หลังจากเตรียมตู้รันน้ำ และระบบกรองเรียบร้อยแล้ว เช็คอุณภูมิน้ำว่าเท่ากับตู้ที่แม่กุ้งอยู่แล้วว่าเท่ากันแล้ว ผมก็จะ่ค่อยๆตักตัวแม่กุ้งออกมาลงตู้ที่เราเตรียมไว้ (ต้องตักแม่กุ้งออกตอนที่ยังไม่มีไข่นะครับ เพราะถ้าตักตอนแม่กุ้งมีไข่แล้ว อันตรายมาก!!! แม่กุ้งอาจจะเครียดและสลัดไข่ได้)

2. หลังจากที่เราเอาแม่กุ้งมาพักไว้ที่ตู้อนุบาลแล้ว การให้อาหารแม่กุ้ง ควรให้แต่น้อยพอที่แม่กุ้งเค้าจะกินหมดครับ ไม่หมดเราก็ตักออกไม่ควรทิ้งเอาไว้ เราต้องดูแลเรื่องความสะอาดของน้ำให้ดีที่สุดครับ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนไข่เริ่มเป็นตัว จนครบกำหนดลูกกุ้งลงมาเดินครับ

3. หลังจากที่เด็กๆเริ่มลงมาเดินจนหมดแล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะเอาคุณแม่ไปแยกพักไว้ อย่าพึ่งใส่ลงไปรวมกับคุณพ่อกุ้งนะครับ ต้องรอให้คุณแม่กุ้งลอกคราบจนสมบูรณ์ก่อน แล้วเราค่อยตักคุณแม่ไปไว้กับคุณพ่อกุ้งได้

4. หลังจากที่เอาคุณแม่แยกออกไปแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะมาดูเด็กๆกันแล้วครับ ช่วงแรกๆเด็กๆเค้าจะยังไม่ค่อยทานอะไรครับ เราอาจจะให้อาหารบ้างเล็กน้อย อาหารที่จะเอามาหให้เด็กๆกินกัน ก็คือ เอาอาหารเม็ดที่เราเอาให้พ่อกุ้งแม่กุ้งกินกันนี่แหล่ะครับ แต่.....เราเอาไปบดให้เป็นชิ้นเล็กๆพอที่ลูกกุ้งจะกินได้ เวลาให้อาหารลูกกุ้งเราก็เอาอาหารที่บดนี่แหล่ะครับใส่ลงไปไม่ต้องเยอะครับ ตามปริมาณลูกกุ้งที่ลงมาเดิน กินแค่พอหมด

5. พอหลังจากที่ลูกกุ้งเริ่มจะลอกคราบกันครั้งถึงสองครั้งแล้ว เด็กๆก็เริ่มที่จะกินกันเก่งขึ้นมากทีเดียว ที่นี้เราก็เริ่มบำรุงลูกกุ้งกันได้แล้ว ส่วนตัวผมใช้หนอนแดงแช่แข็ง ไซส์เล็กครับ คลุกอาหารเสริมต่างๆ ให้เด็กๆกินกันเลยทีเดียว

6. หลังจากนั้นเด็กๆก็เริ่มโตขึ้นเรื่อยๆแล้วครับ ที่นี้เราก็ต้องมานั่งสังเกตุกันแล้วครับว่า จะมีเด็กๆตัวไหนที่โตเร็วเป็นพิเศษ เพื่อที่เราจะได้แยกเค้าออกมาจากฝูงครับ เพราะพวกที่โตเร็วกว่า จะแย่งอาหารพวกตัวเล็กๆกิน แล้วตัวเล้กๆจะไม่ค่อยได้กินครับ เราก็แยกมาใส่กล่องแยกกุ้งต่ออีกที


ขอขอบคุณข้อมูล เฟสบุ๊ค สิบสอง กุมภา

#‎บอกเล่าเก้าสิบ‬ 
เรื่องการแยกแม่ไข่ ซึ่งได้ผล 95% 
ไม่สลัดไข่แน่นอน! 


หลังจากตัวเมียผสมกับตัวผู้เสร็จแล้วจะมีวุ้นติดอยู่ที่ท้องตัวเมียแบบรูปที่ 1..
หลังผสมตัวเมี ยแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง ตัวเมียจะนอนหงายถึงเวลาขับไข่ อาจะใช้เวลา 4-5 ชั่วโมงจนแล้วเสร็จ.. มาถึงจุดนี้ ส่วนตัวจะไม่แยกตัวเมียหรือตัวผู้ออก หมายถึงคือ 7-10 วันหลังตัวเมียขับไข่ ช่วงนี้ห้ามยุ่ง ห้ามส่อง สัญชาตยานของตัวผู้ จะป้องกัน และระวังภัยให้ตัวเมียในระหว่างการขับไข่อยู่ตลอดเวลา หลังจากที่ตัวเมียขับไข่เสร็จ ตัวเมียก็จะหาที่หลบไม่ออกมาอยู่ข้างนอก และกินอาหารน้อยลง ช่วงระยะเวลาเลย 10 วันแล้ว
ถึงขึ้นตอนการแยกตัวเมียลงตะกร้า แยกโดยทำการย้ายตัวเมีย ค่อยๆต้อนให้ตัวเมียเข้าตะกร้าการทำแบบนี้ต้องทำใต้น้ำเท่านั้น หรือใช้แก้วน้ำครอบที่หลบซึ่งในนั้นมีแม่ไข่อยู่ โดยให้ครอบพร้อมกับน้ำในบ่อเลย ไม่ควรยกตัวแม่ไข่ขึ้นเหนือน้ำให้สัมผัสกับอากาศเด็ดขาด เพราะอุณหภูมิจะสวิงไม่คงที่มีโอกาศสลัดไข่สูง ควรใช้วิธีการทำใต้น้ำดีที่สุดคับ
หรืออีกวิธีที่ง่ายที่สุดคือ จับตัวผู้แยกแทน โดยแม่ไข่ยังอยู่บ่อเดิมเลี้ยงเดี่ยวต่อไป เน้นว่าห้ามส่อง ห้ามจับ ระหว่างการฟักตัวของไข่ และไข่จะเปลี่ยนสีจนเป็นกุ้งลงเดินจะใช้เวลาทั้งหมดรวม 30-45 วัน คับ
ที่ชอบตั้งคำถามว่า ..
#ทำไมกุ้งแม่ไข่ถึงสลัดไข่หมด ? ให้กลับไปถามที่ตัวผู้เลี้ยงคับว่า ชอบจับ ชอบส่อง ชอบรบกวนเค้ารึป่าว สิ่งเหล่านี้ล่ะคือปัญหาใหญ่ของการสลัดไข่ 100% และที่สำคัญที่สุดคือ มวลสาร และอุณหภูมิในน้ำและอากาศไม่สมดุจกัน การจับแม่ไข่ขึ้นเหนือน้ำสัมผัสกับอากาศคือเป็นสิ่งที่ผิด เหมือนอาการเดียวกับกุ้งน๊อคน้ำนั้นล่ะคับ ‪#‎และจำไว้ว่าแม่ไข่ไม่กินไข่ตัวเองนะคับ‬ นี่คือเรื่องจริง!


ขอขอบคุณ สุดยอดความรู้จากเฟสบุ๊ค คุณPete Peraphat